วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กรณีศึกษา เรื่องจริยธรรมของนักสารสนเทศ และ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ

      เป็นที่ทราบกันดีว่า “คอมพิวเตอร์” หรือ “อินเทอร์เน็ต” มีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน ขึ้นอยู่กับคนที่ใช้ว่าใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางสร้างสรรค์หรือทำลายล้าง แต่ถ้าพูดถึงด้านการใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตไปในทางที่ผิด ก็มีตัวอย่างให้เห็นเป็นข่าวครึกโครมอยู่บ่อยครั้งกับกรณีที่มีผู้ไม่หวังดีใช้คอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการหลอกลวงหญิงสาวไปข่มขืนและชิงทรัพย์
      จากเหตุการ์ที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2549 ที่ผ่านมา ตำรวจได้ตาม ตะครุบตัว นายหนึ่ง (นามสมมุติ) อายุ 38 ปี หลังจากได้ร่วมกับพรรคพวกที่ยังหลบหนี หลอกลวงหญิงสาวผู้เสียหายที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตผ่านโปรแกรมแชต (Chat) โดยมีการแลกเบอร์โทรศัพท์และนัดเจอกัน สุดท้ายก็ไปจบลงตรงที่เหยื่อถูกบังคับข่มขืนจนยับเยิน แถมยังบังคับให้เหยื่อโทรศัพท์ไปบอกญาติโอนเงินมาให้อีกกว่า 1 แสนบาท ก่อนจะพาร่างอันสะบักสะบอมของเหยื่อไปปล่อยทิ้งไว้
     ถัดมารุ่งเช้า “จิ้งจอกสังคม”ออกปฏิบัติการอีก โดยใช้ “แชตออนไลน์” เป็นเครื่องมือเหมือนเดิม พูดคุยหลอกล่อเหยื่อสาวซึ่งเป็น นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งจนตายใจ แล้วใช้แผนสองนัดแนะเจอกัน เมื่อเหยื่อสาวหลงเชื่อยอมซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปด้วย โดยพาเหยื่อเลี้ยวเข้าอพาร์ตเมนต์ไปบังคับข่มขืนใจ ก่อนจะชิ่งหนีลอยนวล  ซึ่งจากกรณีศึกษาดังกล่าว จะเห็นแล้วว่ามหาภัยจาก “แชตออนไลน์” น่ากลัวและอันตรายเพียงใด หากถูกใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม เหยื่อบางรายอาจจะ “โชคดี” ในความ “โชคร้าย” ที่แม้จะถูกล่วงละเมิดทางเพศ แต่ก็ยังสามารถเอาชีวิตรอดกลับบ้านได้ ในขณะที่หลายรายอาจไม่โชคดีเช่นนั้น

1. จากกรณีศึกษาข้างต้นมีปัญหาที่เกิดขึ้นอะไรบ้าง ให้ระบุออกเป็นข้อ ๆ อย่างชัดเจน
    1.1.ตัวบุคคลไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
    1.2.ใช้ Internet ในทางที่ผิดจรรยาบรรณ
    1.3.การใช้สื่อในทางที่ผิด
    1.4.ไม่สามารถวิเคราะห์ ข้อมูล หรือ เจตนา ของฝ่ายตรงข้ามได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่
    1.5.อัตราเสี่ยงในการถูกล่อลวงและละเมิดทางเพศมีสูง

2. วิเคราะห์ปัญหาในแต่ละข้อ ว่าน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง
     2.1 ปัญหาที่เกิดจากตัวบุคคลเองที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น  การสนทนาผ่านอินเตอร์เน็ตมนปัจจุบันมีการใช้อย่างหลากหลาย โดยเฉพาะในกลุ่มของวัยรุ่นที่มีค่านิยมที่ผิดหลงเชื่อคนงายไม่คำนึงถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ไว้ใจคนอื่นที่ยังไม่รู้จักเป็นอย่างมาก ทั้งนี้สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น อาจมาจากการที่วัยรุ่นบางคนได้รับค่านิยมที่ผิดๆ คิดว่าบุคคลอื่นที่เป็นคู่สนทนามีความเชื่อใจได้มาก ขาดความดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่ผู้ปกครอง ขาดประสบการณ์  และไม่ได้รับคำแนะนำจากคนใกล้ชิด
     2.2 การใช้ Internet ที่ผิดจรรยาบรรณ จากตัวอย่าง ในการใช้ Internet ที่ผิดกฏหมายของกรณีตัวอย่าง เป็น การใช้คอมพิวเตอร์ทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย ทั้งร่างกาย และ จิตใจ เนื่องจากในโลกของ Internet ผู้ที่ถูกล่อลวงไปนั้น ไม่ทราบว่า ตนเองถูกล่อลวงไปทำมิดี มิร้ายจนทำให้ผู้ร้ายเกิดการชะล่าใจในการกระทำความผิด
     2.3 การใช้สื่อในทางที่ผิด    ในยุคแห่งการสื่อสารที่ทันสมัย ไม่ว่าจะอินเตอร์เน็ตหรือโทรศัพท์ นอกจากผู้ใช้จะได้รับประโยชน์แล้ว ยังให้โทษหรือผลเสียจากการใช้ผิดประเภท ผิดวัตถุประสงค์อย่างคาดไม่ถึง ซึ่งจากกรณีศึกษานี้โปรแกรมแชตออนไลน์ที่วัยรุ่นส่วนมากใช้สนทนากัน เช่น เอ็มเอสเอ็นและแคมฟรอก รวมถึงเกมออนไลน์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของวัยรุ่น เนื่องจากเกิดการติดงอมแงม เลิกไม่ได้ และหากไม่ได้เล่นก็จะเหงา เศร้า บางรายอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าวและชอบใช้กำลังร่วมด้วย
             “เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันมีกล้องที่สามารถติดต่อคุยกันหรือโชว์อวัยวะเพศกันสดๆ ยิ่งเพิ่มความตื่นเต้นเร้าใจขึ้นไปอีก ที่น่าเป็นห่วงก็คือในสมัยก่อนจะกระทำกันในเฉพาะห้องส่วนตัว แต่ปัจจุบันแม้กระทั่งร้านอินเตอร์เน็ตก็ไม่มีใครอาย นี่คือตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีที่ผิด ส่วนผลที่ตามมาอาจจะมีการอัดวิดีโอเพื่อทำเป็นคลิปโพสต์ตามเว็บไซต์ต่างๆ สร้างความเดือดร้อนและอับอายแต่ตนเองและครอบครัว”
     2.4 การแชตทางอิเตอร์เน็ตมีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกได้ง่าย เพราะการแชตเป็นการสนทนาที่ไม่สามารถรู้ได้ว่าอีกฝ่ายคิดอะไรอยู่ ต่างฝ่ายต่างไม่เคยเห็นหน้ากันมาก่อน จึงมีการแลกเปลี่ยนเบอร์เพื่อที่จะทำความรู้จักกันมากขึ้น นำไปสู่ปัญญาที่ไม่อาจคาดคิดได้
     2.5 การหลงเชื่อคนง่ายในการสนทนาออนไลน์จะเป็นอัตราเสี่ยงที่ทำให้ถูกล่อลวงจนทำให้เป็นสาเหตุที่เกิดภัยและการแชตเพื่อหาเพื่อนคุยจากเวลาว่างของวัยรุ่นโดยทั่วไปมักจะใช้การแชตออนไลน์และการเล่นเกมหรือกระทำการต่างๆโดยใช้อินเตอร์เน็ตจนทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตไปแล้ว จึงทำให้เป็นอัตราที่มีความเสี่ยงในการถูกกระทำการล่อลวงและถูกละเมิดทางเพศสูง

3. ท่านจะแก้ปัญหาจากกรณีศึกษานี้อย่างไร ขอให้เสนอวิธีการแก้ปัญหาที่สามารถปฏิบัติได้จริงโดยอ้างอิงจากเนื้อหาสาระ ทฤษฎีที่เรียน
     3.1 ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) ในการใช้อินเตอร์เน็ตหรือการสนทนาของวัยรุ่นควร มีความรู้และรู้จักการให้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และที่สำคัญควรรู้จักการตัดสินใจคิดวิเคราะห์ที่มีหลักการ ควรมีการพิจาราอย่างรอบด้าน
     3.2 คิดเป็นแบบแผน (Mental Models) ในการใช้อินเตอร์เน็ตหรือการสนทนา จากตัวตัววัยรุ่นเองควรมีการพิจารณาคิดอย่างมีหลักการและควรคิดให้รอบคอบ
สามารถนำความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)
     3.3 สร้างภูมิคุ้มกันจากครอบครัวและสังคม
     3.4 สื่อในฐานะที่มีบทบาทชี้นำ ยกระดับ ถ่ายทอดวัฒนธรรม และสะท้อนปัญหาก็ควรทำหน้าที่เชิงรุก เพราะเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลอยู่แล้ว ต้องเป็นฝ่ายกระตุ้นให้ผู้ปกครองลุกขึ้นมา เตือนลูกหลานและหาวิธีการป้องกันที่เป็นปัญหาที่เกิดจากต้นเหตุและไปหาข้อสรุปที่ปลายเหตุของปัญหานั้น
     3.5 ไม่ควรไว้ใจคนง่าย ควรทำความรู้จักกันให้มากก่อนที่จะแลกเบอร์หรือนัดพบกันตามลำพัง
     3.6 ในการแก้ปัญหาจะทำโดยจะต้องมีความเชื่อในตัวเองไม่หลงเชื่อคนง่ายและควรใช้เวลาว่างส่วนใหญ่เปลี่ยนไปทำสิ่งใหม่ๆและจะใช้หลักการวิเคราะห์ในลักษณะความรู้ที่ไม่ชัดเจนความรู้ในคนคือบางสิ่งบางอย่างในความคิดของบุคคล บุคคลอื่นก็ไม่สามารถทราบความคิดของบุคคลนัน้ได้จึงทำให้การใช้หลักการวิเคราะห์นี้เป็นการวิเคราะห์ที่ช่วยทำให้ลดอัตราความเสี่ยงการเกิดการล่อลวงและล่วงละเมิดทางเพศได้ในด้านการเปลี่ยนทิศทางความคิดของตัวบุคคล

4. การตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหานั้น ๆ ขอให้เสนอเหตุผลมาสนับสนุนว่าเพราะเหตุใดจึงตัดสินใจเช่นนั้น
     - ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery) เพราะ การสนทนาบนโลกออนไลน์มีทั้งประโยชน์และโทษ จึงควรมีความรู้รอบด้านที่มาใช้ในการตัดสินใจ และรู้จักป้องกันตนเอง ทั้งนี้ทั้งนั้น หนทางในการแก้ไขปัญหาจึงไม่ใช้หน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ตกเป็นของทุกฝ่ายที่ต้องช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นมากที่สุด ต้องให้ความเข้าใจ และไว้วางใจกับเด็ก เพื่อบรรเทาปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
     -การใช้สื่อในทางผิดกฎหมายในปัจจุบันนี้ถือว่าเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งในระดับสังคมซึ่งยากที่จะแก้ไขได้เพราะเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปเรื่อยๆ ที่เลือกสถาบันครอบครัวมาช่วยในการแก้ปัญหานี้ก็เพราะว่า ครอบครัวมีความสำคัญยิ่งที่จะคอยสอดส่องดูแลบุตรหลานในการประพฤติปฏิบัติตัวในการดำรงชีวิตในสังคม และสื่อก็เป็นตัวนำเสนอเหตุการณ์หรือข้อคิดดีๆเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าปัญหาที่เกิดในปัจจุบันนี้ได้ส่งผลกระทบในเรื่องใดบ้างแล้วจะมีปัญหาอะไรตามมา ครอบครัวก็จะได้
     - เพราะหลักการวิเคราะห์จะช่วยทำให้ลดอัตราความเสี่ยงการเกิดการล่อลวงและล่วงละเมิดทางเพศได้ในด้านการเปลี่ยนทิศทางความคิดของตัวบุคคล

5.สรุป
      จากการใช้ทฤษฎีในด้านความรู้ที่ไม่ชัดในด้านความรู้ในคนจะช่วยทำให้สามารถวิเคราะห์เกี่ยวกับความคิดในตัวของแต่ละบุคคลที่จะวิเคราะห์ถึงความจริงหรือเท็จในคำกล่าวที่ได้ทราบถึงข้อมูลที่บุคคลนั้นได้กล่าวมา


สมาชิก
1.นางสาวเตือนใจ  วงค์นัทธี  5117411684
2.นางสาวอาภาพร ศรีวงศ์ษา  5117414629
3.นางสาวอัฉราภรณ์ นวลอนงค์   5117401748
4.นางสาววรรณนภา ดวนใหญ่   5117432401
5.นางสาวทิตย์ติญา ปินตาแก้ว   5117451336

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น